การต่อสู้ของผู้หญิงในอดีตสู่ความเปลี่ยนแปลงที่ยังต้องเดินต่อ – From the Past to the Road Ahead: Women’s Fight Continues

(อ่านภาษาไทยด้านล่าง)

In 1977, the United Nations officially designated March 8 as “International Women’s Day” (IWD) to honor the global struggle of women for fair labor rights and equality in society. It is also a vital opportunity to point out the ongoing challenges women continue to face, whether it’s sexual oppression, harassment, gender discrimination, or inequality. While IWD has only been officially celebrated for 48 years, its roots trace back long before the 20th century.

The origin of International Women’s Day dates back to a protest by women workers in a textile factory in New York City on March 8, 1857. They demonstrated against the oppression they faced from employers through long working hours, unfair wages, and poor working conditions. This protest sparked a movement that spread throughout the United States and Europe. In 1910, Clara Zetkin, a German socialist and activist, led the movement calling for a reduction in working hours to eight hours per day. In the same year, during the second International Conference of Working Women in Copenhagen, Denmark, the idea of establishing March 8 as International Women’s Day was adopted. This day was meant to commemorate the labor movement of women and to mark the beginning of labor protection laws.

Today, International Women’s Day has become an important observance in many countries. In Russia, for example, it is a national holiday, and women are often given flowers or gifts as a token of appreciation for their roles in society, whether in the family, school, or workplace. In many countries, the day is also a significant occasion for campaigns advocating for gender equality.

Currently, policies for women are being supported through international cooperation and global movements aimed at enhancing rights, reducing inequality, and promoting gender equality. One such initiative is the Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women (CEDAW), which was adopted by the United Nations in 1979. It obligates state parties to take measures to address gender discrimination in all aspects of life. Additionally, global campaigns like the #MeToo Movement have provided a platform for women to share their experiences of sexual harassment, and HeForShe encourages men to actively participate in promoting gender equality.

Policies in each country may vary depending on social and legal contexts, but they all aim for the same goal: achieving greater equality in rights and opportunities.

In several countries, such as Japan, South Korea, Indonesia, and Taiwan, there are policies for “Menstrual Leave,” which allow female workers to take time off when they experience severe menstrual pain without having their salary deducted or losing their leave benefits. Menstrual pain and other related symptoms are considered illnesses that impact a woman’s ability to work. In Indonesia, Article 81 of the Labor Law grants two days of leave per month, while Taiwan’s Act of Gender Equality in Employment provides three days of menstrual leave per year.

Another progressive policy is the “menstrual products tax-exempt,” aimed at reducing the financial burden on women and making essential hygiene products such as sanitary pads and tampons more accessible. These products are often expensive and necessary every month, which can significantly impact women, especially low-income women workers. Several countries, including the United Kingdom, Canada, and Kenya, have already removed taxes on menstrual products.

In addition to policies for women, policies related to mothers and children play a crucial role in enhancing the rights of women who are building families. Women workers often face the pressure of choosing between their careers and their families. Many countries have introduced “Parental Leave,” which helps balance work and family responsibilities. Adequate maternity leave not only promotes the health of mothers and children but also allows fathers to participate in early childcare, reducing the burden of caregiving that often falls solely on mothers. In Scandinavian countries with strong welfare systems, such as Sweden and Norway, the Parental Leave system allows both parents to take extended leave with financial support from the government. Japan also offers paternity leave of up to one year, which has contributed to shifting the cultural expectation that child-rearing is solely the mother’s responsibility. These policies also enable workers to return to their jobs more effectively, while reducing gender inequality in the workplace.

In Thailand, there are still many issues that need further advocacy. For instance, maternity leave is still limited to just 90 days, with employers only responsible for paying wages for 45 days, while the rest is covered by social security. This policy fails to cover more than 20 million workers in the informal sector. To this day, the Thai women’s movement continues to advocate for the extension of maternity leave to 180 days, not to mention the lack of support for childcare systems and paternity leave, which leaves the burden predominantly on women.

Menstrual leave is also absent from Thai policy. Many women still have to work while experiencing severe menstrual pain, and because there is no specific leave for this, they are forced to use sick leave instead. For some time, women workers in northern Thailand, both Thai and migrant workers, have united to push for the “Menstrual Leave” campaign, advocating for menstrual health to be recognized in the workplace.

Despite improvements in women’s rights and welfare over the years, societal structures and practices remain unjust, particularly the burden of unpaid care work, which primarily falls on women. Household chores and caregiving are fundamental to society but are not considered economically valuable labor. This results in women shouldering responsibilities both at home and in the workplace without proper support. Addressing this issue requires a shift in societal perspectives and the implementation of policies that make caregiving a shared responsibility.

It is important to understand that the journey towards gender equality and women’s rights is long and challenging. However, this struggle is not just the work of women alone, it must involve the entire society in order to create meaningful change towards a truly equal and just society.


จากการต่อสู้ของผู้หญิงในอดีตสู่ความเปลี่ยนแปลงที่ยังต้องเดินต่อ

ในปี 1977 องค์การสหประชาชาติกำหนดอย่างเป็นทางการให้วันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็น “วันสตรีสากล” (International Women’s Day: IWD) เพื่อระลึกถึงการต่อสู้ของผู้หญิงทั่วโลกเพื่อสิทธิแรงงานที่เป็นธรรมและความเท่าเทียมกันในสังคม ทั้งยังเป็นโอกาสสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่ผู้หญิงยังคงต้องเผชิญ ทั้งการกดขี่ทางเพศ การคุกคาม การเหยียดเพศและเลือกปฏิบัติ แต่ทว่าวันสตรีสากลที่ไม่ได้เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลาแค่ 48 ปีเท่านั้น แต่มีรากฐานมาอย่างยาวนานตั้งแต่ช่วงก่อนศตวรรษที่ 20

“วันสตรีสากล” มีต้นกำเนิดมาจากการต่อสู้ของแรงงานหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 1857 เกิดการชุมนุมประท้วงการถูกกดขี่จากนายจ้างด้วยชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ค่าจ้างและสภาพการทำงานที่ไม่เป็นธรรม ทำให้หลังจากนั้นเกิดการขยายแนวคิดและจุดประกายไปทั่วทั้งอเมริกาและยุโรป จนกระทั่ง “คลาร่า เซทคิน” นักสังคมนิยมและนักเคลื่อนไหวชาวเยอรมัน ผู้นำขบวนนัดหยุดงานเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานเหลือ 8 ชั่วโมง ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากผู้หญิงทั่วโลก ในปี 1910 ที่ประชุมของสมัชชาสตรีสังคมนิยม ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ได้รับรองข้อเสนอของคลาร่าให้วันที่ 8 มีนาคม เป็นวันสตรีสากล เพื่อระลึกถึงการเคลื่อนไหวของแรงงานหญิงตั้งแต่อดีตที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

ปัจจุบัน วันสตรีสากลกลายเป็นวาระสำคัญในหลายประเทศ เช่น ประเทศรัสเซีย ที่กำหนดให้วันสตรีสากลของทุกปีเป็นวันหยุดราชการ ในทางปฏิบัติ ผู้หญิงจะได้รับดอกไม้หรือของขวัญเพื่อแสดงถึงความสำคัญของบทบาทของผู้หญิงในสังคมทุกบริบทไม่ว่าจะเป็นครอบครัว โรงเรียน หรือที่ทำงาน และในหลายๆ ประเทศ วันสตรีสากลก็เป็นโอกาสสำคัญในการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อความเท่าเทียมทางเพศ

ทุกวันนี้นโยบายสำหรับผู้หญิงได้รับการสนับสนุนผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศและการเคลื่อนไหวระดับโลกที่ต้องการยกระดับสิทธิ ลดความเหลื่อมล้ำ และส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและเพศ (CEDAW) ซึ่งสหประชาชาติรับรองในปี 1979 กำหนดให้รัฐภาคีดำเนินมาตรการเพื่อแก้ไขการเลือกปฏิบัติทางเพศในทุกมิติของชีวิต นอกจากนี้ ยังมีแคมเปญระดับโลก เช่น #MeToo Movement ที่เปิดพื้นที่ให้ผู้หญิงพูดถึงประสบการณ์การถูกคุกคามทางเพศ หรือ HeForShe ที่สนับสนุนให้ผู้ชายมีบทบาทในการส่งเสริมความเท่าเทียม

นโยบายในแต่ละประเทศอาจแตกต่างกันไปตามบริบททางสังคมและกฎหมาย แต่ล้วนมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกันคือสิทธิและโอกาสที่เท่าเทียมกันมากขึ้น

ในหลายประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และไต้หวัน มีนโยบาย “วันลาประจำเดือน” (Menstrual Leave) ซึ่งอนุญาตให้แรงงานหญิงลาหยุดได้เมื่อมีอาการปวดประจำเดือนรุนแรง โดยไม่ถูกหักเงินเดือนหรือเสียสิทธิวันลา เพราะการปวดท้องและอาการอื่นๆ จากการมีประจำเดือนถือเป็นการเจ็บป่วยซึ่งส่งผลต่อการทำงาน ในอินโดนีเซีย กฎหมายแรงงาน มาตรา 81 ให้สิทธิลาได้ 2 วันต่อเดือน ส่วนไต้หวันก็มีกฎหมายความเสมอภาคทางเพศที่ให้สิทธิลาได้ 3 วันต่อปี

นโยบาย “ยกเลิกภาษีผลิตภัณฑ์ประจำเดือน” ก็เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าในการลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับผู้หญิงและทำให้สินค้าสุขอนามัยของผู้หญิงเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เช่น ผ้าอนามัยและแผ่นอนามัย ซึ่งมีราคาสูงและมีความจำเป็นในการบริโภคทุกเดือน ส่งผลกระทบผู้หญิงทั่วโลก โดยเฉพาะแรงงานหญิงที่มีรายได้น้อย ปัจจุบัน มีหลายประเทศที่ยกเว้นภาษีผลิตภัณฑ์ประจำเดือนแล้ว เช่น สหราชอาณาจักร แคนาดา เคนย่า เป็นต้น

นอกจากนโยบายสำหรับผู้หญิงแล้ว นโยบายเกี่ยวกับแม่และเด็กก็มีความสำคัญในการยกระดับสิทธิของผู้หญิงที่กำลังสร้างครอบครัว โดยเฉพาะแรงงานหญิงที่มักถูกบีบให้ต้องเลือกระหว่างอาชีพและครอบครัว ปัจจุบันหลายประเทศได้มีการนำเสนอ “วันลาสำหรับพ่อ” หรือ “วันลาคู่” (Parental Leave) เพื่อช่วยสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและการดูแลครอบครัว จำนวนวันลาคลอดที่เหมาะสมไม่เพียงแต่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของแม่และเด็ก แต่ยังเปิดโอกาสให้พ่อมีส่วนร่วมในการดูแลลูกตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิตด้วย ลดการแบ่งหน้าที่การดูแลเด็กที่มักตกอยู่กับแม่ฝ่ายเดียว

ในประเทศแถบสแกนดิเนเวียที่มีรัฐสวัสดิการที่เข้มแข็ง เช่น สวีเดนและนอร์เวย์ ระบบ Parental Leave จะให้สิทธิพ่อและแม่ลาร่วมกันได้นานหลายเดือน พร้อมทั้งได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ ญี่ปุ่นเองก็ให้พ่อสามารถลางานได้นานถึงหนึ่งปี ซึ่งช่วยเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเลี้ยงดูบุตรจากที่เคยเป็นหน้าที่ของแม่ฝ่ายเดียว การมีนโยบายเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้เด็กได้รับการดูแลที่ดีขึ้น แต่ยังช่วยให้พนักงานสามารถกลับไปทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในที่ทำงานด้วย

สำหรับประเทศไทย แม้ว่าสิทธิของผู้หญิงทำงานจะมีพัฒนาการมาหลายทศวรรษ แต่ยังมีหลายประเด็นที่ยังต้องผลักดัน เช่น วันลาคลอดที่ยังจำกัดเพียง 90 วัน โดยที่นายจ้างรับผิดชอบค่าจ้างเพียง 45 วัน ส่วนที่เหลือมาจากประกันสังคม ซึ่งยังไม่ครอบคลุมแรงงานในระบบไม่เป็นทางการกว่า 20 ล้านคน ซึ่งประเด็นนี้ เครือข่ายขบวนการสตรีไทยก็ได้เดินหน้าต่อสู้อย่างต่อเนื่องเพื่อขยายวันลาคลอดเป็น 180 วัน นอกจากนี้ ยังขาดการสนับสนุนเรื่องระบบดูแลเด็กและวันลาคู่สำหรับพ่อ ทำให้ภาระส่วนใหญ่ยังคงตกอยู่กับผู้หญิง

อีกประเด็นที่ยังไม่มีการรับรองในนโยบายของไทยคือ วันลาประจำเดือน ผู้หญิงจำนวนมากยังต้องไปทำงานทั้งๆ เผชิญกับอาการเจ็บป่วยรุนแรง และเนื่องจากไม่มีสิทธิลาโดยเฉพาะ จึงต้องใช้วันลาป่วยแทน ในช่วงที่ผ่านมา กลุ่มแรงงานหญิงในภาคเหนือ ทั้งแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติ ได้รวมตัวกันผลักดันแคมเปญ “เมนส์มาลาได้” เพื่อเรียกร้องให้อาการเจ็บป่วยของผู้มีประจำเดือนได้รับการยอมรับในที่ทำงาน

แม้ว่าสิทธิและสวัสดิการของผู้หญิงจะมีพัฒนาการขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่โครงสร้างทางสังคมและวิถีปฏิบัติหลายอย่างก็ยังคงไม่เป็นธรรม โดยเฉพาะภาระงานบ้าน ซึ่งถือเป็น unpaid care work หรืองานดูแลที่ไม่ได้ค่าจ้างที่ยังตกอยู่กับผู้หญิงเป็นหลัก การทำงานบ้านและดูแลครอบครัวเป็นรากฐานสำคัญของสังคม แต่กลับไม่ถูกนับเป็นแรงงานที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้หญิงต้องรับภาระทั้งในบ้านและในที่ทำงาน โดยไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสม การแก้ไขปัญหานี้จึงต้องเริ่มจากการเปลี่ยนมุมมองของสังคม และผลักดันนโยบายที่ทำให้ภาระเหล่านี้เป็นความรับผิดชอบร่วมกัน

เราต้องเข้าใจว่า การเดินทางเรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศยังคงยาวไกลและท้าทายอยู่ แต่การต่อสู้ไม่ได้เป็นเพียงขบวนการของสตรีเท่านั้น แต่ต้องเป็นการร่วมมือของสังคมองค์รวมทั้งหมด เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงทางความคิดและสังคมที่เท่าเทียมกันอย่างแท้จริง

อ้างอิง

  • Global Citizen. (2023). What Is the Tampon Tax? Everything You Need to Know About the Campaign to End Period Poverty. https://www.globalcitizen.org/en/content/tampon-tax-explained-definition-facts-statistics
  • World Economic Forum. (2023). The Origins of International Women’s Day and How It Became a Global Celebration. https://www.weforum.org/stories/2023/03/origins-international-womens-day-holiday