(อ่านภาษาไทยด้านล่าง)
Just over a year ago, a major news program in Thailand aired a story about “Dr. Keng” and her lawsuit with her employer, Mae Fah Luang University, which later gained traction on social media. During the program, Dr. Keng mentioned one of the crucial sources of support during her challenging times. She shared how, in her search for assistance from various organizations, JELI was one of the few to provide her with generous help.
Dr. Keng’s case highlights mental health issues, topics that have only recently started to gain broader acceptance and open discussion in Thailand. It also sheds light on unfair treatment stemming from mental health conditions. Dr. Keng recounted that her problems began with unjust treatment from her employer which severely impacted her life and mental health over more than 10 years.
In 2008, Dr. Keng, Prapakorn Winaisathaporn, received a scholarship from the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation to pursue a PhD in England. During her studies, she began experiencing mental health issues, leading her to consult a university psychologist. Her condition worsened, and by 2012, she had to be hospitalized in a psychiatric hospital for 28 days.
Upon returning to the university, she received excellent care, including regular psychiatric consultations and significant support from faculty and staff. Importantly, she faced no stigma or discrimination due to her condition. The university’s care enabled Dr. Keng to resume and successfully complete her studies. However, when she returned to Thailand to work as a lecturer, things took a drastic turn. She received no mental health support from Mae Fah Luang University, her employer.
Dr. Keng continued to struggle with mental health issues and feelings of alienation from colleagues. In an environment where her organization showed no interest or provided proper care for her condition, the university used a single email she had sent, stating she was overwhelmed and considering resignation, to justify her termination.
Following her dismissal, Dr. Keng faced a lawsuit from the university demanding 16 million baht for breaching her scholarship contract.
Left to fend for herself, she wandered alone for years, battling her mental health challenges while fighting the legal case with no substantial support. Later on a law professor advised her and helped draft an appeal to contest the court’s decision, during which her mental health struggles persisted, and she was unable to find employment. Lacking the strength to seek work on her own, she found solace when representatives from the Mirror Foundation, provided emotional encouragement. Their support helped her regain hope and start applying for jobs.
Dr. Keng began a new job after a successful interview. Her new workplace offered understanding and empathetic colleagues who supported her recovery. Despite becoming a public figure due to social media coverage of her story, which caused her significant anxiety, she received encouragement from compassionate individuals who helped restore her confidence.
On Friday, November 1, 2024, the Chiang Mai Administrative Court delivered its verdict from the Supreme Administrative Court, ruling in favor of Dr. Keng by dismissing the case against her. The court determined that Dr. Keng had not breached her scholarship contract.
The email she had written to the dean, which the university claimed constituted her resignation, was not a resignation letter. Instead, Mae Fah Luang University had failed to adhere to the regulations of the Ministry of Finance and the terms of the scholarship contract. The university did not consult the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation, the Office of the Civil Service Commission, or the Ministry of Finance, as required, to determine whether Dr. Keng’s mental health condition disqualified her from civil service eligibility
The court concluded that Dr. Keng had not violated her contract and therefore was not liable to repay the scholarship funds or any associated penalties.
The case of Dr. Keng points out the inadequacies of systems in Thailand that fail to provide sufficient mental health support within the workplace. The management discriminated against employees and neglected to offer mental health care, potentially violating labor rights and the legal protections in place for employees’ mental well-being.
The case also points to the added challenges women face in the workplace, where mental health issues are often worsened by gender stereotypes.
Employees often face violations by employers, but action is typically only taken when physical harm is evident. Mental health, however, is often overlooked or treated as a taboo topic, despite the significant impact it has on many workers suffering from stress, anxiety, and depression. In some countries, workplace mental health policies are mandated by law. In the UK, employers are legally required to accommodate and safeguard the mental health of employees. In contrast, Thailand still has a long way to go to ensure that mental health receives the attention it deserves in the workplace.
In Thailand, labor laws primarily focus on protecting health and safety in the workplace, particularly in terms of preventing accidents and mitigating risks associated with occupational hazards. However, when it comes to mental health protection specifically, labor laws still lack clear and concrete provisions.
The most crucial step is for governments to take stronger action to protect workers’ mental health through legal frameworks, establish clearer guidelines for mental health support and encourage workplace benefits to ensure that workers are not discriminated against because of their mental health conditions.
Special thanks to Dr. Keng for her courage and openness in sharing her story to shed light on the challenges and triumphs of navigating mental health.
ปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงาน: อันตรายที่ถูกมองข้าม
เมื่อเดือนธันวาคมปี 2023 รายการข่าวชื่อดังหลายรายการในประเทศไทยได้ออกอากาศการสัมภาษณ์ “ดร.เค็ง” เกี่ยวกับคดีความของเธอกับมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งเมื่อเผยแพร่ออกไปก็ได้รับความสนใจอย่างมากในโลกออนไลน์ ในการสัมภาษณ์ครั้งนั้น ดร.เค็ง ได้กล่าวถึงแหล่งช่วยเหลือสนับสนุนของเธอในช่วงระยะเวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับปัญหานานัปการ หนึ่งในนั้นก็คือสถาบันแรงงานและเศรษฐกิจที่เป็นธรรม
คดีความของ ดร.เค็ง นั้นถือเป็นเรื่องราวโดยตรงเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งในประเทศไทยอาจกล่าวได้ว่าเพิ่งจะเป็นที่ยอมรับและสามารถพูดคุยกันอย่างแพร่หลายเปิดเผยในระยะเวลาไม่นาน ทั้งยังเป็นกรณีตัวอย่างของการถูกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมในสถานที่ทำงานซึ่งเป็นผลมาจากการเจ็บป่วยทางจิต ดร.เค็ง เล่าว่าปัญหาของเธอนั้นเริ่มต้นมาจากการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมโดยนายจ้าง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อสุขภาพจิตและวิถีชีวิตของเธอมาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี
ในปี 2008 ดร.เค็ง-ประภากร วินัยสถาพร ได้รับทุนการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกที่ประเทศอังกฤษจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในระหว่างที่เธอศึกษาอยู่นั้น ได้เริ่มมีอาการของปัญหาสุขภาพจิตจนต้องเข้าพบกับนักจิตวิทยาของมหาวิทยาลัย อาการของเธอแย่ลงเรื่อยๆ จนกระทั่งต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจิตเวชเป็นเวลากว่า 28 วัน ในปี 2012
เมื่อกลับมาที่มหาวิทยาลัย เธอได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากทั้งคณะและเจ้าหน้าที่ ได้เข้าพบกับจิตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือเธอไม่ถูกเลือกปฏิบัตหรือทำให้รู้สึกแปลกแยกจากอาการป่วยของเธอแต่อย่างใด การดูแลเป็นอย่างดีจากมหาวิทยาลัยทำให้ ดร.เค็ง สามารถศึกษาต่อได้จนสำเร็จ แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องกลับประเทศไทยเพื่อทำงานเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงตามเงื่อนไขของทุนการศึกษา ทุกสิ่งทุกอย่างกลับพลิกผัน เธอไม่ได้รับการดูแลปัญหาสุขภาพจิตแต่อย่างใดจากที่ทำงาน
ดร.เค็ง ทำงานโดยต้องต่อสู้กับอาการป่วยทางจิตที่ส่งผลต่อการกระทำและสภาวะการตัดสินใจ ทั้งยังถูกทำให้รู้สึกแปลกแยกจากเพื่อนร่วมงาน ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่ทำงานที่ไม่ได้ให้ความสนใจหรือช่วยเหลืออย่างเหมาะสมกับอาการป่วยนั้น เธอส่งอีเมล์ถึงอธิการบดีแจ้งว่าเธอไม่ไหวและอยากจะลาออก โดยขอให้ทางมหาวิทยาลัยช่วยตรวจสอบกับสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน แต่สิ่งที่ต้องพบเจอคือ มหาวิทยาลัยใช้อีเมล์ฉบับนั้นเป็นเหตุผลในการให้เธอออกจากงาน
หลังจากนั้น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงยื่นฟ้อง ดร.เค็ง เป็นเงินมูลค่ากว่า 16 ล้านบาท ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่าการลาออกของ ดร.เค็ง เป็นการผิดสัญญาทุนการศึกษา
ดร.เค็ง ที่ยังอยู่ในอาการป่วย ทั้งยังต้องออกจากงานต้องต่อสู้กับคดีความเพียงลำพังเป็นเวลาหลายปีโดยที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือใดๆ ทั้งปัญหาสุขภาพจิตก็เป็นอุปสรรคต่อการหางานทำในขณะนั้น ต่อมา ภายหลัง จึงได้มีอาจารย์กฎหมายเข้ามาให้คำแนะนำในการเขียนรายงานโต้แย้งต่อศาลและเอกสารอื่นๆ ระหว่างนั้นก็เป็นช่วงที่ ดร.เค็ง ได้พบกับตัวแทนจากมูลนิธิกระจกเงาที่เข้ามาช่วยเหลือและให้กำลังใจ การสนับสนุนนี้มีความสำคัญอย่างมากในการทำให้เธอกลับมามีความหวังและเริ่มต้นหางานใหม่อีกครั้ง
ดร.เค็ง เริ่มต้นงานใหม่หลังจากผ่านการสอบสัมภาษณ์งานกับองค์กรหนึ่ง สถานที่ทำงานใหม่นี้มีความเข้าอกเข้าใจและสนับสนุนกระบวนการรักษาตัวของเธอเป็นอย่างดี ซึ่งในขณะนั้นเรื่องราวของ ดร.เค็ง ได้กลายเป็นประเด็นพูดคุยสาธารณะทางโซเชียลมีเดียไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทำให้เธอเองเกิดความกังวลเป็นอย่างมาก แต่ในขณะเดียวกัน การได้รับการสนับสนุนจากหลายๆ คนก็ช่วยทำให้เธอกลับมามีความมั่นใจได้อีกครั้ง
ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2024 ศาลปกครองเชียงใหม่ได้อ่านคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ยกฟ้องโดยชี้ว่า ดร.เค็ง ไม่ได้ทำผิดสัญญาทุน
อีเมล์ที่เขียนถึงอธิการบดีนั้นไม่ใช่ใบลาออก เป็นมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่ไม่ปฏิบัติตามระเบียบของกระทรวงการคลังและเงื่อนไขในสัญญาทุน โดยไม่ได้ส่งเรื่องเข้าไปปรึกษากระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน และกระทรวงการคลังตามระเบียบ เพื่อหารือว่าอาการป่วยทางจิตของ ดร.เค็ง เข้าเงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมการรับราชการ และสมควรได้รับการยกเว้นหนี้ทุนให้ โดยศาลปกครองสูงสุดได้ให้ข้อสรุปว่า ดร.เค็ง ไม่ได้ผิดสัญญาทุน และไม่ต้องต้องชดใช้หนี้ทุนและค่าปรับแต่อย่างใด
คดีความนี้ นอกจากจะพรากระยะเวลา 10 กว่าปี และสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพจิตของ ดร.เค็ง แล้ว ยังชี้ให้เห็นถึงระบบที่ไม่มีประสิทธิภาพในการให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสมต่อปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงาน การที่ฝ่ายบริหารเลือกปฏิบัติและเพิกเฉยต่อการให้ความช่วยเหลือและดูแลสุขภาพจิตของลูกจ้าง เป็นการละเมิดต่อสิทธิและความคุ้มครองความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของแรงงาน
กรณีของ ดร.เค็ง ยังแสดงให้เห็นถึงความท้าทายทางเพศในที่ทำงาน ซึ่งประเด็นสุขภาพจิตมักจะนำไปสู่จากเลือกปฏิบัติจากการเหมารวมสภาวะทางเพศสภาพ
ลูกจ้างมักเผชิญกับการละเมิดโดยนายจ้างอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ค่าจ้าง หรือแม้แต่ภาระงาน แต่ปัญหาเหล่านี้จะมีการจัดการแก้ไขอย่างจริงจังได้ก็ต่อเมื่อเกิดเป็นหลักฐานการเจ็บป่วยทางร่างกายที่เห็นได้ชัดเจนแล้ว เมื่อเป็นปัญหาสุขภาพจิตแล้วนั้น ก็มักจะถูกมองข้ามหรือมองว่าเป็นหัวข้อต้องห้าม ทั้งๆ ที่ผลกระทบนั้นมีความรุนแรงอย่างมาก คนทำงานจำนวนมากต้องเผชิญกับภาวะเครียด วิตกกังวล และซึมเศร้า ในบางประเทศ การดูแลสุขภาพจิตในที่ทำงานได้รับความสำคัญอย่างมากและถูกบังคับโดยกฎหมาย เช่น ในสหราชอาณาจักร นายจ้างมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องดูแลสุขภาพจิตของลูกจ้าง การเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างที่มีปัญหาสุขภาพจิตก็เป็นเรื่องต้องห้ามโดยเด็กขาด แต่ในทางกลับกัน ประเทศไทยยังต้องเดินทางอีกยาวไกลในการพัฒนาให้ปัญหาสุขภาพจิตได้รับความสำคัญในที่ทำงานทั้งจากนายจ้างและลูกจ้าง
ในประเทศไทย กฎหมายแรงงานส่วนใหญ่จะเน้นที่การคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยในที่ทำงาน โดยเฉพาะในแง่ของการป้องกันอุบัติเหตุและความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากการทำงาน แต่ในแง่ของการคุ้มครองสุขภาพจิตโดยเฉพาะนั้น กฎหมายแรงงานยังไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนหรือเป็นรูปธรรมเท่าไหร่นัก
สิ่งสำคัญคือ รัฐบาลจะต้องผลักดันให้มีการดูแลสุขภาพจิตของลูกจ้างอย่างจริงจังผ่านกรอบทางกฎหมาย กำหนดแนวทางการสนับสนุนสุขภาพจิต ส่งเสริมให้สถานที่ทำงานมีสิทธิประโยชน์ในการดูแลปัญหาสุขภาพจิตของลูกจ้าง และตรวจสอบไม่ให้เกิดการเลือกปฏิบัติเมื่อลูกจ้างมีปัญหาสุขภาพจิต
ขอขอบคุณ ดร.เค็ง เป็นอย่างยิ่งสำหรับความตั้งใจในการเปิดเผยเรื่องราวเพื่อเป็นกรณีตัวอย่างและผลักดันประเด็นปัญหาสุขภาพจิตให้เป็นที่ตระหนักในสังคม